วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (super computer) ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับงานคำนวณที่ต้องมีการคำนวณตัวเลขจำนวนหลายล้านตัวภายในเวลาอันรวดเร็ว เช่น งานพยากรณ์อากาศ ที่ต้องนำข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับอากาศทั้งระดับภาคพื้นดิน และระดับชึ้นบรรยากาศเพื่อดูการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของอากาศ งานนี้จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงมาก นอกจากนี้มีงานอีกเป็นจำนวนมากที่ต้องใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ซึ่งมีความเร็วสูง เช่น งานควบคุมขีปนาวุะ งานควบคุมทางอวกาศ งานประมวลผลภาพทางการแพทย์ งานด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะทางด้านเคมี เภสัชวิทยา และงานด้านวิศวกรรมการออกแบบ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็ว และมีประสิทธิภาพสูงกว่าคอมพิวเตอร์ชนิดอื่น การที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็ว เพราะมีการพัฒนาให้มีโครงสร้างการคำนวณพิเศษ เช่นการคำนวณแบบขนานที่เรียกว่า เอ็มพีพี (Massively Parallel Processing : MPP) ซึ่งเป็นการคำนวณที่กระทำกับข้อมูลหลาย ๆ ตัวในเวลาเดียวกัน ที่มา:https://www.google.co.th/#q=supercomputer&undefined=undefined มินิคอมพิวเตอร์ (mini computer)
มินิคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องที่สามารถใช้งานพร้อม ๆ กันได้หลายคน จึงมีเครื่องปลายทางต่อได้ มินิคอมพิวเตอร์เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูงกว่าสถานีงานวิศวกรรม นำมาใช้สำหรับประมวลผลในงานสารสนเทศขององค์การขนาดกลาง จนถึงองค์การขนาดใหญ่ที่มีการวางระบบเป็นเครือข่ายเพื่อใช้งานร่วมกัน เช่น งานบัญชีและการเงิน งานออกแบบทางวิศวกรรม งานควบคุมการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม มินิคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณืที่สำคัญในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์การที่เรียกว่าเครื่อให้บริการ (server) มีหน้าที่ให้บริการกับผู้ใช้บริการ (client) เช่น ให้บริการแฟ้มข้อมูล ให้บริการข้อมูล ให้บริการช่วยในการคำนวณ และการสื่อสาร ที่มา:https://www.google.co.th/#q=minicomputer&undefined=undefined ไมโครคอมพิวเตอร์ (micro computer) ไมโครคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก บางคนเห็นว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานส่วนบุคคล หรือเรียกว่า พีซี (Personal Computer : PC) สามารถใช้เป็นเครื่องต่อเชื่อมในเครือข่าย หรือใช้เป็นเครื่องปลายทาง (terminal) ซึ่งอาจจะทำหน้าที่เป็นเพียงอุปกรณ์รับและแสดงผลสำหรับป้อนข้อมูลและดูผลลัพธ์ โดยดำเนินการการประมวลผลบนเครื่องอื่นในเครือข่าย อาจจะกล่าวได้ว่าไมโครคอมพิวเตอร์ คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยประมวลผลกลางเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ ใช้งานง่าย ทำงานในลักษณะส่วนบุคคลได้ สามารถแบ่งแยกไมโครคอมพิวเตอร์ตามขนาดของเครื่องได้ดังนี้ คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (desktop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กถูกออกแบบมาให้ตั้งบนโต๊ะ มีการแยกชิ้นส่วนประกอบเป็น ซีพียู จอภาพ และแผงแป้งอักขระ แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (laptop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่วางใช้งานบนตักได้ จอภาพที่ใช้เป็นแบบแบนราบชนิดจอภาพผนึกเหลว (Liquid Crystal Display : LCD) น้ำหนักของเครื่องประมาณ 3-8 กิโลกรัม โน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ (notebook computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดและความหนามากกว่าแล็ปท็อป น้ำหนักประมาณ 1.5-3 กิโลกรัม จอภาพแสดงผลเป็นแบบราบชนิดมีทั้งแบบแสดงผลสีเดียว หรือแบบหลายสี โน้ตบุ๊คที่มีขายทั่วไปมีประสิทธิภาพและความสามารถเหมือนกับแล็ปท็อป ที่มา:https://www.google.co.th/#q=microcomputer+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD&undefined=undefined Notebook คอมพิวเตอร์พกพา (Notebook) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา สะดวกในการเคลื่อนย้าย สิ่งสำคัญของคอมพิวเตอร์พกพาคือ แบตเตอร์รี่ ซึ่งทำให้สามารถใช้งานในที่ใด ๆ ก็ได้ แต่ส่วนใหญ่แล้ว แบตเตอร์รี่จะใช้ได้นานเพียง 2-3 ชั่วโมง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการชาร์ฟไฟอยู่เสมอ ส่วนประกอบหลักๆของ Notebook - Hard Drive: เป็นที่เก็บโปรแกรมและข้อมูลทั้งหมด Hard Drive ที่มีความจุมากก็หมายถึงปริมาณข้อมูลที่คุณเก็บได้มากขึ้นตามไปด้วย ถ้าต้องการแค่ทำงานเอกสารและเก็บรูปภาพอีกเล็กน้อย ความจุ Hard Drive ขนาด 20 -40 GB ก็เพียงพอแต่ถ้าต้องการทำงานเกี่ยวกับมัลติมีเดียหรือเก็บข้อมูลเพลงต่างๆ อาจจะต้องการความจุอย่างน้อย 80 GB-Memory (RAM): โปรแกรม รวมไปถึงระบบปฏิบัติการณ์ต้องการจำนวน Memory ในปริมาณหนึ่งเพื่อทำการรันโปรแกรม ยิ่งมี RAM มาก ยิ่งทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น - CD and DVD Drives: เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เพื่ออ่านและเขียนข้อมูล โดยจะมีแบบที่อ่านอย่างเดียว เขียนอย่างเดียวหรือได้ทั้งเขียนและอ่านในตัวเดียว (Combo drives) โดยที่ยังแบ่งออกเป็นประเภทของสื่ออีกด้วย เช่น CD และ DVD โดยที่สามารถอัพเกรดเพิ่มเติมในภายหลังด้วย - Ports: เพื่อใช้ในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น MP3 player, กล้องดิจิตอล, เมาส์ หรือเว็บแคม โดยในปัจจุบันใช้เทคโนโลยี USB 2.0 หรือ FireWire ในการเชื่อมต่อ - Screens: โดยส่วนใหญ่ จะมีขนาด 14.1 นิ้วโดยในเครื่องที่มีน้ำหนักเบาอาจจะมีจอที่เล็กลงไปด้วย ถ้าคุณต้องการทำงานเกี่ยวข้องกับมัลติมีเดียมากๆ เลือกจอที่มีขนาดใหญ่จะดีกว่า - Networking and Wi-Fi: ถ้าคุณต้องการเชื่อมต่อ Internet ในหลายๆ สถานที่ แนะนำให้ซื้อแบบที่มี built-in Ethernet support, Wi-Fi (802.11b or 802.11g) support หรือการ์ด PCMCIA network แต่ในปัจจุบันเครื่อง Notebook ส่วนใหญ่จะมีอุปกรณ์ตัวนี้ติดตั้งมาให้เรียบร้อยแล้ว - Graphics Card: เพื่อช่วยในการประมวลผลด้านภาพเพื่อลดภาระของ RAM ในการประมวลผล ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์ (palmtop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์สำหรับทำงานเฉพาะอย่าง เช่นเป็นพจนานุกรม เป็นสมุดจนบันทึกประจำวัน บันทึกการนัดหมายและการเก็บข้อมูลเฉพาะบางอย่างที่สามารถพกพาติดตัวไปมาได้สะดวก ที่มา :https://www.google.co.th/#q=notebook&undefined=undefined


แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet personal computer)

"แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet personal computer)" คือ "เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่สามารถพกพาได้และใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก ออกแบบให้สามารถทำงานได้ด้วยตัวมันเอง" ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากหลังจากทาง Microsoft ได้ทำการเปิดตัว Microsoft Tablet PC ในปี 2001 แต่หลังจากนั้นก็เงียบหายไปและไม่เป็นที่นิยมมากนัก
   "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" ไม่เหมือนกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือ Laptops ตรงที่อาจจะไม่มีแป้นพิมพ์ในการใช้งาน แต่อาจจะใช้แป้นพิมพ์เสมือนจริงในการใช้งานแทน (มีแป้นพิมพ์ปรากฎบนหน้าจอใช้การสัมผัสในการพิมพ์) "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" ทุกเครื่องจะมีอุปกรณ์ไร้สายสำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตและระบบเครือข่ายภายในทีที่มา : http://www.tabletd.com/articles/289

    smartphone
smartphone คือ โทรศัพท์ที่รองรับระบบปฏิบัติการ ต่างๆได้ เสมือนยกเอาคุณสมบัติที่
PDA และคอมพิวเตอร์มาไว้ในโทรศัพท์ เช่น iOS (ที่ลงในมือถือรุ่น Iphone) ,BlackBerry OS, Android OSWindows phone 7 และ Symbian Os (Nokia) เป็นต้น ซึ่งทำให้ สมาร์ทโฟน สามารถลงโปแกรมเพิ่มเติม (Application) ได้
คุณสมบัติของสมาร์ทโฟน
1.การเชื่อมต่ออุปกรณ์ไร้สาย นี่เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่จะทำให้ smart-Phone เช่น นั่นคือการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ PDA โทรศัพท์เครื่องอื่น พริ้นเตอร์ หรือกล้องดิจิตอล ผ่านทาง อินฟราเรด บลูทูธ หรือ Wi-Fi
2.สามารถรองรับไฟล์ Multimedia ได้หลากหลายรูปแบบ เช่นไฟล์ ภาพ,ภาพเคลื่อนไหว เช่นภาพเคลื่อนไหวสกุล .gif เสียง ซึ่งก็จะมีหลายรูปแบบ เช่น ไฟล์ Wave, MP3, Midi ต่อไปเป็นไฟล์วิดีโอ ซึ่งจะสามารถรองรับภาพเคลื่อนไหว หรือภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียง เช่นสกุล .3gp .mp4 เป็นต้น


 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น